บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2011
อาเซียน ความเป็นมาของอาเซี่ยน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้  ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอก

ผลไม้

          สารอาหารโปรตีนที่มีอยู่ในกล้วยน้ำว้า เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับเราอยู่หลายชนิด  โดยเฉพาะมีกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า อาร์จินิน และ ฮีสติดีน ซึ่งกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก            นอกจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตแล้ว ในกล้วยแต่ละชนิดยังมีไขมันแม้จะอยู่ในปริมาณที่น้อยก็ตาม            กล้วยแต่ละชนิดจะให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ในปริมาณที่แตกต่างกัน จะเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนจากตาราง โดยเปรียบเทียบจากเนื้อกล้วยในปริมาณ  100 กรัม เท่าๆ กัน           ส่วนวิตามินนั้น มองดูผิวเผิน กล้วยแต่ละชนิดสีขาวๆ ทั้งนั้นไม่น่าจะให้วิตามินเอเลย แต่ในกล้วยก็มีวิตามินเออยู่ด้วย แม้จะไม่มากเท่าวิตามินเอที่ได้จากมะละกอหรือมะม่วงสุก แต่ก็มีวิตามินเอมากกว่าผลไม้อีกหลาย ๆ ชนิด เช่น ชมพู่ ส้มโอ น้อยหน่า เป็นต้น ในบรรดากล้วยทุกชนิดนั้น กล้วยน้ำว้าจะมีวิตามินเอมากกว่าเพื่อน สำหรับวิตามินตัวอื่น กล้วยก็มีอยู่ครบทุกชนิดเช่นกัน ทั้งวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และไนอะซิน