อาเซียน

ความเป็นมาของอาเซี่ยน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

จุดประสงค์ของการจัดตั้งอาซียน

วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการจัดตั้งอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาในโรงเรียน เพื่อเตรียมประชากรให้พร้อมกับการเป็นสมาคมอาเซียน โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีเป้าหมายในการให้เยาวชนไทยทราบข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ซึ่งมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการใช้ติดต่อในประชาคมอาเซียนรวมถึงภาษาของประเทศต่างๆในอาเซียนอีก 9 ประเทศ การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาจึงจะช่วยในการอำนวยความสะดวกแก่ท้องถิ่นในการสร้างความตระหนักในเรื่องการเป็นประชาคมอาเซียน
        
  ประเทศสมาชิก

1. บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลวา ดินแดนแหงความสงบสุข)  
2. กัมพูชา (Cambodia) 
ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
3. อินโดนีเซีย (Indonesia) 
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) 
4. ลาว (Laos)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic)
5. มาเลเซีย (Malaysia)
 ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
6. พมา (Myanmar) 
ชื่อทางการ : สหภาพพมา (Union of Myanmar)
7. ฟลิปปนส (Philippines) 
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟลิปปนส (Republic of the Philippines)
8. สิงคโปร (Singapore) 
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร (Republic of Singapore) 
9. ประเทศไทย (Thailand)
ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
10. เวียดนาม (Vietnam)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)






 

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Kamikaze

วาเลนไทน์